Thursday, September 22, 2022

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta เสียงสวด


 

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta 

=======================

5.เสียงสวด กรณียเมตตสูตร

====================

https://youtu.be/RAtnSvqdgso

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta คำแปลทั้งโดยอรรถและโดยยกศัพท์



กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta

================

4..คำแปล

================

4.1 แปลโดยอรรถ

#กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในธรรมพึงกระทำ

#สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้รู้ อาจหาญ และซื่อตรงดี

#สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

#สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดดเลี้ยงง่าย

#อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายจิต

#สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรียือันระงับแล้ว มีปัญญา

#อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

#นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย (พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า)

#สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

#เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่

#ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง (ยังมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง(ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่เหลือ

#ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลาง หรือสั้น หรือผอมพี

#ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น

#เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

#ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาภพก็ดี

#สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น ขงเป็นผ฿มีตนถึงความสุขเถิด

#นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่น

#นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆเขาในที่ไรๆเลย

#พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา,นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธและความคับแค้น

#มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตฉันใด

#พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้

#เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น

#เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น

#อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง

#อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

#ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นังแล้วก็ดี

#สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

#เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น

#ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล

#ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ(โสดาปัตติมรรค)

#กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก

#นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ย่อมไม่ถึงความนอน (เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล ฯ

4.2 แปลโดยยกศัพท์

#กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

อะริโย อันว่าพระอริยะเจ้า อภิสเมจจะ ได้บรรลุแล้ว ปะทํ ซึ่งบท สันตัง อันสงบ ยํ ใด ตํ ปะทํ อันว่าสัตบทนั้น อัตถะกุสะเลนะ ปุคฺคเลนะ อันบุคคล ผู้ฉลาดในประโยชน์ กะระณียัง พึงกระทำ.

#สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ

โส ปุคฺคโล อันว่าปุคคลนั้น สักโก จะ เป็นผู้อาจหาญด้วย อุชู จ เป็นผู้ซื่อตรงด้วย สุหุชู จะ เป็นผู้ซื่อตรงดีด้วย

#สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

สุวะโจ จ เป็นผู้ว่าง่ายด้วย  มุทุ จะ เป็นผู้อ่อนโยนด้วย อะนะติมานี จะ เป็นผู้ไม่มีอติมานะด้วย

#สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ

สันตุสสะโก จ เป็นผู้สันโดษด้วย สุภะโร จะ เป็นผู้เลี้ยงง่ายด้วย

#อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

อัปปะกิจโจ จะ เป็นผู้มีกิจธุระน้อยด้วย สัลละหุกะวุตติ จ เป็นผู้มีความประพฤติเบา(ทั้งกายและจิต)

#สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ

สันตินทริโย จะ เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบแล้วด้วย นิปะโก จะ เป็นผู้มีปัญญาด้วย

#อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

อัปปะคัพโภ จะ เป็นผู้ไม่คึกคะนองด้วย กุเลสุ อะนะนุคิทโธ จะ เป็นผู้ไม่พัวพันในตระกูลทั้งหลายด้วย หุตฺวา เป็น

#นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

เยนะ วิญญู ปะเร ชเน อุปะวะเทยยุง กิญจิ ขุททัง นะ สะมาจะเร จะ อันว่าผู้รู้ทั้งหลาย(วิญฺญู) พึงติเตียน ซึ่งชนทั้งหลายเหล่าอื่น(ปะเร ชะเน อุปะวเทยยุง) ด้วยกรรมอันใด (เยน กัมเมนะ) อันว่าบุคคลนั้น(โส ปคคะโล) ไม่พึงประพฤติ ซึ่งกรรม อันนั้น(ตังนะ กัมมัง) (แม้)อันเล็กน้อย (ขุททัง) ด้วย

(เมตตะจิตตัง อันว่าไมตรีจิต ภาเวตัพพัง อันบุคคลพึงเจริญ(ให้มี) อิติ ว่า ดังนี้😊

#สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

สัตตา อันว่าสัตว์ทั้งหลาย สัพเพ ทั้งปวง สุขิโน วา เป็นผู้มีความสุขหรือ เขมิโน วา หรือว่าเป็นผู้มีความเกษม สุขิตตัตตา วา หรือ ว่าเป็นผู้มีตนถึงความสุข โหนตุ จงเป็น

#เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ

ปาณะภูตา อันว่าสัตว์ที่ชีวิตทั้งหลาย เย เกจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อัตถิ มีอยู่

#ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ตะสา วา เป็นผู้สะดุ้งหรือ ถาวะรา วา หรือว่าเป็นผู้มั่นคง อะนะวะเสสา เป็นผู้ทั้งหมดไม่เหลือ

#ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ทีฆา วา เป็นผู้ตัวยาวหรือ มะหันตา วา หรือว่าเป็นผู้ตัวใหญ่  มัชฌิมา เป็นผู้มีขนาดปานกลางหรือ รัสสะกา วา หรือว่าเป็นผู้มีตัวขนาดสั้น  อะณุกะถูลา วา หรือว่าเป็นผู้มีตัวผอมและตัวอ้วน

#ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา

ทิฏฐา วา เป็นผู้อันบุคคลมองเห็นหรือ อะทิฏฐา วา หรือว่าเป็นผู้อันบุคคลมองไม่เห็น

#เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

เย เต อันว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่านั้น ทูเร วะสันติ จะ อยู่อยู่ในที่ไกลด้วย อะวิทูเร วะสันติ จะ อยู่อยู่ในที่ไม่ไกลด้วย

#ภูตา วา สัมภะเวสี วา

ภูตา วา เป็นผู้เกิดแล้วหรือ สัมภะวาสี วา หรือว่าเป็นผู้แสวงหาที่เกิด โหนติ ย่อมเป็น

#สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

สัตตา อันว่าสัตว์ทั้งหลาย สัพเพ ทั้งปวง สุขิตัตตา เป็นผู้มีตนถึงความสุข ภะวันตุ จงเป็น

#นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ

ปะโร สัตโต อันว่าสัตว์อื่น นะ นิกุพเพถะ ไม่พึงข่มเหง ปะรัง สัตตัง ซึ่งสัตว์อื่น

#นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

น อะติมญเญถะ ไม่พึงดูหมิ่น นัง กิญจิ ซึ่งสัตว์ใดๆ กตถะจิ ในที่ไรๆ

#พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา,นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

น อิจเฉยยะ ไม่พึงปรารถนา ทุกขัง ซึ่งทุกข์ อญญะมญญัสสะ แก่กันและกัน พยาโรสนา เพราะความกริ้วโกรธ ปะฏีฆะสัญญา เพราะความคับแค้น

#มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตฉันใด

มาตา อันว่ามารดา อะนุรักเข พึงถนอม อายุสา ด้วยชีวิต ปุตตัง ซึ่งบุตร นิยํ ผู้เป็นของตนเอง เอกปุตตัง ผู้เป็นบุตรคนเดียว นิยัง ผู้เกิดในตน ยถา โดยประการใด

#พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้

ปัณฑิตา อันว่าบัณฑิตทั้งหลาย อาหุ กล่าวแล้ว เอตัง กิริยัง ซึ่งกิริยานี้ พรัหมัง วิหารัง ว่าเป็นพรหมวิหาร อิธ สาสเน ในพระศาสนานี้

#เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

โส ปุคฺคโล อันว่าบุคคลนั้น มานะสัมภาวะเย พึงเจริญไว้ในใจ เมตตัง ซึ่งไมตรี อปริมาณัง อันหาประมาณไม่ได้ สัพพะภูเตสุ ในสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย เอวัง อะปิ แม้โดยประการนั้น

#เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

จะ ก็ ปุคคะโล อันว่าบุคคล มานะสัมภาวะเย พึงเจริญไว้ในใจ เมตตัง ซึ่งไมตรี อะปะริมาณัง อันหาประมาณไม่ได้ สัพพะโลกัสมิง ในโลกทั้งปวง

#อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ

อุทธัง จะ ในเบื้องบนด้วย อะโธ จะ ในเบื้องต่ำด้วย ติริยัญจะ ในเบื้องฉียงด้วย

#อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

อะสัมพาธัง อันเป็นธรรมอันไม่คับแคบ อะเวรัง อันเป็นธรรมอันไม่มีเวร อะสะปัตตัง อันเป็นธรรมอันไม่มีศัตรู

#ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา

โส ปุคฺคโล อันว่าบุคคลนั้น ติฏฐัง วา ยืนอยู่หรือ จะรัง วา หรือว่าเดินไป นิสินโน วา หรือว่านั่งแล้ว

#สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

สะยาโน ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ วา หรือว่าเป็นผู้นอนแล้ว เป็นผู้มีความง่วงไปปราศแล้ว เพียงใด ยาวตา เพียงใด

#เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น

โส ปุคคะโล อันว่าบุคคลนั้น อะธิฏเฐยยะ พึงตั้งไว้ สะติง ซึ่งสติ เอตัง นั้น ตาวตา เพียงนั้น

#ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา

โส ปุคฺคโล อันว่าบุคคลนั้น ทิฏฐิง อะนุปะคัมมะ จ ไม่เป็นผู้เข้าถึงซึ่งทิฏฐิด้วย สีละวา จะ เป็นผู้มีศีลด้วย 

#ทัสสะเนนะ สัมปันโน

ทัสสะเนน สัมปันโน จะ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะด้วย หุตฺวา เป็น 

#กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง

วิเนยยะ พึงนำออก เคธัง ซึ่งความหมกมุ่น กาเมสุ ในกามทั้งหลาย

#นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ย่อมไม่ถึงความนอน (เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล ฯ

หิ จริงอยู่ โส ปุคคะโล  อันว่าบุคคลนั้น นะ เอติ ย่อมไม่ถึง คัพภะเสยยัง ซึ่งการนอนในครรภ์(การเกิด) ปุนะ อีก ชาตุ อย่างแน่แท้ ฯ 

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta อานิสงส์


 

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta 

==================

3.อานิสงส์

================

หากสวดภาวนาเป็นประจำ จะทําให้ผู้สวดเป็นที่รัก ของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

กรณียเมตตสูตร Karaniyamettasutta ตำนาน




กรณียเมตตสูตร   Karaniyamettasutta

==============

2. ตำนาน

==============

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น มีภิกษุหมู่หนึ่งประมาณ 500 รูป รับบทเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระพุทธเจ้า แล้วทูลลาไปเจริญสมณธรรมในปัจจันตชนบทแห่งหนึ่ง ได้เข้าไปพักอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งในป่าใหญ่แห่งนั้นมีรุกขเทวดา(เทวดาสถิตอยู่บนต้นไม้) สิงอยู่

พอพระเหล่านั้นเข้าพักเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม พวกเทวดาก็ต้องหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะพระเป็นผู้ทรงศีลพวกเทวดก็ได้รับความรับบากมาก ต่างก็บ่นกันต่างๆนานา แต่เดิมก็คิดว่าพระคงจะมาพักสักแค่ 2-3 คืน แต่นี่พระจะอยู่เจริญสมณธรรมซึ่งจะสิ้นสุดเมื่อไรก็ไม่รู้

พวกเทวดาต้องการให้พวกพระหนีออกไปจากป่านั้นเสีย จึงได้แสดงอาการการหลอกหลอนต่างๆ เป็นต้นว่าส่งเสียงโหยหวนน่าหวาดเสียว ให้เกิดอาการไอ อาการจาม เป็นต้น

เมื่อพระได้ประสบกับสิ่งอันน่าหวาดกลัวเช่นนั้นจึงไม่เป็นอันปฏิบัติสมณธรรม จึงชวนกันเดินทางกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้กราบทูลถึงสิ่งที่พวกตนได้ประบกันมาในป่าใหญ่

พระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำให้ภิกษุเหล่านั้นเจริญเมตตา คือ สวดกรณียเมตตสูตรแล้วส่งะระเหล่านั้นกลับไปอีก  คราวนี้เมื่อไปถึงพระเหล่านั้นก็ได้เจริญกรณียเมตตสูตร

เมื่อพวกเทวดาได้ฟังพระสูตรนี้แล้วเกิดเมตตาจิต แทนที่จะสร้างความหวาดเสียวให้บังเกิดขึ้นแก่พระเหล่านั้น กลับช่วยกันขวนขวายเพื่อความสุขและสัปปายะของพระภิกษุเหล่านั้น พระภิกษุพวกนั้นเมื่อได้สิ่งสัปปายะแล้วก็เจริญสมณธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั่วกัน

เพราะเรื่องนี้เองเป็นเหตุ จึงมีธรรมเนียมว่า เมื่อเดินทางงผ่านศาลเจ้าหรือศาลเทพารักษ์ หรือต้นไม้ต้นใหญ่มากหรือที่เรียกวา”ไม้วันบดี”ที่มีประชาชนนับถือบูชา คนทั้งหลายต้องทำความเคารพด้วยวิธีการบไหว้

แต่ถ้าเป็นพระภิกษุก็ต้องทำสามีจิกรรมด้วยการเจริญเมตตา คือ สวดกรณียเมตตสูตร แม้คฤหัสถ์จะเจริญเมตตาด้วยการสวดกรณียเมตตสูตรด้วยก็ยิ่งดี และยังถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอยู่จนถึงบัดนี้ บทกรณียเมตตสูตรนี้ อาจเรียกว่ามนต์ขับผีด้วยก็ได้

กรณียเมตตสูตร บทสวดที่เป็นภาษาบาลี Karaniyamettasutta

กรณียเมตตสูตร 

Karaniyamettasutta

====================

1.บทสวดที่เป็นภาษาบาลี

====================

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ...............ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ............จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ............... อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ.............. อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ......... เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ ....................สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ.......................ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา..................มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา............... เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา.....................สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ...............นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา...........นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง ................อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ ......................มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง..............มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ...............อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา .................สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ...............พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ.................สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง.....................นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ


Google

Custom Search